บทที่ 3
3.1 เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์
พัฒนาการเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาเป็นไปอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากการที่มีคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณ พ.ศ. 2489 เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาในช่วงปี พ.ศ. 2514 และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทุกๆ ปี จะมีผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นออกจำหน่ายจำนวนมาก จนกระทั่งมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่มาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานองคอมพิวเตอร์
หากจะแบ่งการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องคำนวณที่รู้จักกันดีและใช้กันมาตั้งแต่ในยุคประวัติศาสตร์คือ ลูกคิด จากหลักฐานประวัติศาสตร์พบว่า ลูกคิดเป็นเครื่องคำนวณที่ใช้กันในหมู่ชาวจีนมากว่า 7,000 ปี และใช้กันใน อียิปต์โบราณมากว่า 2,500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข
บุคคลอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญมากต่อการผลิตเครื่องจักรเพื่อช่วยในการคำนวณ คือ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2343 เขาประสบผลสำเร็จในการสร้างเครื่องคำนวณที่เรียกว่า ดิฟเฟอเรนซ์เอนจิน (difference engine)
3.2 คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญยากาศ
หลอดสุญญากาศเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ และต้องใช้กระแสไฟฟ้ามาก
ในปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคนคือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ
เจเพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J. Presper Eckert) ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์
และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเป็นเครื่องแรกของโลกมีชื่อว่า
อินิแอค (Electronic Numerical Integrator And Calculator : ENIAC) โดย
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศและใช้งานที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ก็มีการสร้างคอมพิวเตอร์และเครื่องคำนวณ ที่ใช้หลอด
สุญญากาศขึ้นอีกหลายรุ่น เช่น IBM 603, IBM 604 และ IBM SSEC แต่เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ไอบีเอ็มสร้างในยุคหลอดสุญญากาศยุคแรกนี้ยังเน้นในเรื่อง
การคำนวณ
ในปี พ.ศ. 2488 จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann) ได้สนใจ
เครื่องอินิแอคและได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ
เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการ
นี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
หลอดสุญญากาศ เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขนาดใหญ่และต้องใช้กระแส
ไฟฟ้ามากเพื่อเผาไส้หลอดให้เกิดประจุอิเล็กตรอนวิ่งผ่านตาราง (grid) การทำงาน
ของหลอดสุญญากาศใช้วิธีการควบคุมการไหลของกระแส อิเล็กตรอน ที่วิ่งผ่าน
แผ่นตาราง
คอมพิวเตอร์ในยุคสุญญากาศ ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับมีการพัฒนา
หน่วยความจำถาวรที่เก็บข้อมูลได้จำนวนมากระยะแรกใช้วิธีการเก็บข้อมูลในบัตร
เจาะรูแต่ทำงานได้ช้าจนในที่สุดก็มีการใช้หน่วยเก็บข้อมูลในรูปจานแม่เหล็ก
วงแหวนแม่เหล็กวิธีการที่ใช้เก็บข้อมูลในวงแหวนแม่เหล็กใช้มาจนถึงประมาณปี
พ.ศ. 2513 นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาวิธีการเก็บข้อมูลในรูปดรัมแม่เหล็กและ
เทปแม่เหล็กอีกด้วย
3.3 คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์
นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการวิจัยเบล (Bell laboratories) แห่งสหรัฐ
อเมริกาได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ได้สำเร็จทรานซิสเตอร์มีผลทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็ก
ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยมีความคงทนและเชื่อถือได้สูงกว่าและที่สำคัญคือสามารถ
ผลิตได้ในราคาที่ถูกว่าหลอดสุญญากาศดังนั้นคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมาจึงใช้ ทรานซิสเตอร์และทำให้สิ้นสุดคอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศในเวลาต่อมา
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์รุ่นแรกๆ ของบริษัทไอบีเอ็ม เช่น IBM
1401 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงมีขีดความสามารถในเชิงการทำงาน
ได้ดีขึ้นการเริ่มต้นใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์นี้ทำให้มีการผลิต
คอมพิวเตอร์ และใช้งานแพร่หลายกว่ายุคหลอดสุญญากาศ มาก องค์การ และ
หน่วยงานทั้งในภาครัฐบาลและเอกชนได้นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
และในปี พ.ศ. 2507 บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี
ทรานซิสเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าเมนเฟรม (main frame) และถือได้ว่าเป็น
รากฐานการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับในประเทศไทยก็มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้เข้ามาใช้
เช่นกันในปี พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเข้ามาใช้ในการศึกษา
ในระยะเวลาเดียวกัน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณ
สำมโนประชากรนับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทยคอมพิวเตอร์
ยุคทรานซิสเตอร์นี้หน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากจนทำให้
ระบบการเก็บข้อมูลในจานแม่เหล็กมีความจุได้สูงขึ้นมาก
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อย่างรวดเร็วเช่น องค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการ
คำนวณและควบคุม ยานอวกาศต่างๆ ในยุคแรกและมีพัฒนาการต่อเนื่องมา
จนถึงปัจจุบัน
3.4 คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม
ประมาณปี พ.ศ. 2508 ได้มีการพัฒนาวิธีการสร้างทรานซิสเตอร์จำนวน
มากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่าไอซี
บริษัทไอบีเอ็มเริ่มใช้ไอซีกับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกคือซิสเต็ม/370 โมเดล 145 (system/370 model 145) และผลิตออกขาย พัฒนาการของไอซี ทำให้
คอมพิวเตอร์มีความซับซ้อนสูงขึ้น มีวงจรการทำงานที่ทำการคิดคำนวณจำนวนเต็ม
ได้เป็นหลายล้านครั้งต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาหน่วยความจำที่ใช้ ไอซี
ทำให้มีความจุมากขึ้น ในยุคต้นสามารถผลิตไอซี หน่วยความจำ ที่มีความจุหลาย กิโลบิตต่อชิพ (chip) และเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาการ ทางด้านอุปกรณ์เก็บข้อมูลมาเป็นฮาร์ดดิสก์ (hard disk) โดยนำแผ่นบันทึกหลายๆ
แผ่นวางซ้อนกัน มีหัวอ่านหลายหัวฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ ประกอบที่สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความจุในการเก็บข้อมูลได้มากและรวดเร็ว
ด้วยการใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงราคาถูกลง
จึงมีบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์มากขึ้น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงที่เรียกว่า
มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer) จึงขายดี ในยุคนั้นอุตสาหกรรมการ ผลิต
คอมพิวเตอร์ในสหรัฐอเมริกาขยายตัวทำให้มีบริษัท ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์
เกิดขึ้นหลายราย
3.5 คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ
เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์ยังคงก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
มีการสร้างเป็นวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกรอนขนาดเล็กเรียกว่า
วงจรวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated circuit : VLSI) เป็น
วงจรรวมที่สามารถนำทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมกัน อยู่ในแผ่นซิลิกอน
ขนาดเล็กและผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนเรียกว่า
ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor)
การใช้วีแอลเอสไอเป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถผลิต
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรียกว่า ไมโคร
คอมพิวเตอร์ (microcomputer) ไมโครคอมพิวเตอร์จึงเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์
ที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก
การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงเพราะวีแอลเอสไอ เพียงชิพเดียว
สามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำ
ที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่างๆ ขณะเดียวกันพัฒนาการ
ของฮาร์ดดิสก์ก็ทำให้ฮาร์ดดิสก์มีขนาดเล็กลงและมีความจุเพิ่มขึ้นแต่มีราคา
ถูกลงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดได้ตั้งแต่อยู่ในอุ้งมือที่เรียกว่า
ปาล์มทอป (plam top) ขนาดโน๊ตบุ๊ค (note book) และคอมพิวเตอร์ขนาด
ตั้งโต๊ะ (desk top)
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานได้ง่าย และมีซอฟต์แวร์ ในการ ใช้งานจำนวนมาก เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน และซอฟต์แวร์กราฟิก
3.6 คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย
วงจรวีแอลเอสไอได้รับการพัฒนาให้มีความหนาแน่นของจำนวนทรานซิสเตอร์ มากขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน สามารถผลิตจำนวนทรานซิสเตอร์ลงในแผ่นซิลิกอน
ขนาดเล็กได้มากกว่าสิบล้านตัวทำให้วงจรหน่วยประมวลผลกลางมีขีดความสามารถ
มากขึ้น
เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้นทำงานได้เร็วการแสดงผลและ
การจัดการข้อมูลก็ทำได้มากสามารถประมวลผล และแสดงผลได้ครั้งละมากๆ จึงทำ
ให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้หลายงาน พร้อมกัน (multitasking) ดังจะเห็นได้จาก
โปรแกรมจัดการประเภทวินโดวส ์ในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์ เครื่องเดียว ทำงาน
หลายอย่างพร้อมกันได้ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์
ในองค์การ มีการทำงานเป็นกลุ่ม (work group) โดยใช้เครือข่าย ท้องถิ่น ที่เรียกว่า
แลน (Local Area Network : LAN) เมื่อเชื่อมการทำงานหลายๆ กลุ่มขององค์
การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การเรียกว่า อินทราเน็ต
(intranet) และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อ
เชื่อมกัน ทั่วโลกก็เรียกว่าอินเทอร์เน็ต (internet)
คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงต่อถึงกันทำงานร่วมกัน
ส่งเอกสารข้อความระหว่างกันได้สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวีดิทัศน์ ไมโคร
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม (multimedia)
3.7 เทคโนโลยีสื่อประสม
เทคโนโลยี แบบสื่อประสม (multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายแบบ
ผสมกัน ซึ่งมีทั้งที่ เป็นข้อความ ตัวหนังสือ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงพูด
เสียงดนตรี และวีดิทัศน์ การใช้สื่อหลายชนิดกำลังเป็นที่นิยมกันมาก
การใช้งาน สื่อประสมกำลังได้รับความนิยมมีการพัฒนาและประยุกต์
อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะเมื่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันได้
ทั่วโลกการส่งกระจายข้อมูลบนเครือข่ายจึงหันมานิยมแบบสื่อประสม ซึ่ง
พัฒนามาจากระบบข้อมูลที่เป็นตัวอักษรก่อนต่อมาก็เป็น รูปภาพ เสียง
จนถึง วีดิทัศน์
คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับ สื่อประสมจึงต้องการซีพียูที่ทำงานได้เร็ว
สื่อประสม จึงเหมาะกับซีพียู รุ่นใหม่ๆ และต้องการ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการ
พัฒนามาให้ใช้กับระบบนี้เท่านั้น
ในอนาคตสื่อประสมจะเข้ามา มีบทบาทสูงมากเพราะเป็นหนทางที่จะ
ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ง่ายระบบสื่อประสมนี้จะเข้ามามีบทบาท
ทำให้เกิดการใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ทำเป็นหนังสือบนแผ่นซีดี
ใช้สร้างเกมที่มีลักษณะเหมือนจริงมากขึ้นใช้ในการ สื่อสารที่นำสื่อ
ทุกชนิดไปด้วยกันเกิดระบบการประชุมที่ เรียกว่า การประชุมทางวีดิทัศน์
(video conference) ที่ทำให้สามารถติดต่อประชุมกันเหมือนอยู่ ใกล้ๆ กัน
การใช้งานในเรื่องต่างๆ จะมีอีกมากมาย
วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553
บทที่ 2
สารสนเทศ
2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
นักเรียนคงคุ้นเคยกับคำว่า ข้อมุล มานานแล้ว ในโรง้รียนมีข้อมูลอยู่มากมาย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน ข้อมูลวิชาเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับครูผู้สอน ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ในการดำเนินงานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา
2.1.1 ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของสิ่งที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบตต่างๆ เช่น ตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเองข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือข้อความเป้นไปของสิ่งที่เราน่าสนใจ
โรงเรียนเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เช่น เมื่อนักเรียนสมัครเข้ารงเรียนจะมีการบันทึกประวัตินักเรียนไว้ ข้อมูลของนักเรียนที่โรงเรียนเก็บส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา นอกจากนี้ยังมีการบันทึกการมาเรียนของนักเรียน บันทึกผลการเรียน ข้อมู,เหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนแต่ละคนได้อย่างถ่องแท้ เพราะมีข้อมูลอย่างอื่นของนักเรียนที่ไม่ได้บันทึกไว้อีกมากมาย เช่น สีผม สีตา ตำหนิ ความสูง น้ำหนัก อาหารที่ชอบ วิชาที่ชอบ ความถนัด และงานอดิเรก
ในการดำเนินงานธุรกิจใดๆ จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้ใช้งาน เช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งเก็บข้อมูลการขายสินค้าตลอดปี เขาสามารถเก็ฐข้อมูลเหล่านี้มาศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณการขายต่อเดือน ประเภทและชนิดของสินค้าว่าสินค้าชนิดใดขายดี ชนิดใดขายไม่ดี แนวโน้มในกานขายในอนาคตจะเป็นอย่างไร สินค้าใดมียอดการขายที่ขึ้นอยู่กับเทศกาลหรือมีผลจากปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง
2.1.2 สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู๋ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งานได้ และจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น เมื่อต้องการสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการก็ควรจะเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาที่เพี่ยงพอแก่การตัดสินใจ
2.2 ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System: IS) คือ การดำเนินงานกับข้อมูล ตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรอาจใช้ฮาร์แวร์ และซอร์ฟแวร์ เป็ฯเครื่องมือที่ให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ
การจัดทำสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะใช้ช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการบันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์ม และเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มซึ่งเก็บในแต่ละเดือน ภาค หรือปี และมีการสรุปข้อมูลเป็ฯสารสนเทศเพื่อสร้างรายงาน
ตัวอย่างเช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการคัดเลือกนักเรียนเพื่อไปตอบคำถามเกี่ยวกับเทคโนโลลยีสารสนเทศ จึงทำการคัดเลือกนักเรียนนจากข้อมูลที่โรงเรียนจัดเก็บคือระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรายภาค และจากข้อมูลระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคเรียนที่ 4 มีนักเรียน 3 คน ได้ระดับคะแนน 4 อาจารย์จึงได้พิจารณาระดับคะแนนทั้ง 4 ภาคเรียนของนักเรียน 3 คน
สารสนเทศสามารถแบ่งประเภทตามสภาพความต้องการที่จักทำขึ้นได้ ดังนี้
1. สารสนเทศที่ทำเป็นประจำ เป็นสารสนเทศที่จักทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน รายงานเกี่ยวกับผู้ติดต่อหรือตรวจเยี่ยมโรงเรียนในแต่ละเดือน
2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศจะมีการให้ทำรายงานส่งเพื่อการต่างๆ เช่น งบดุลของบริษัทที่ต้องทำขึ้น เพื่อยื่นต่อทางราชการและใช้ในการเสียภาษี
3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ในการดำเนินงานต่างๆ บางครั้งจำเป็นต้องทำรายงานข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น รัฐบาลต้องการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์และจำเป็นต้องได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนว่าจะสร้างหรือไม่ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปรายงานขึ้นเป็นการเฉพาะ แล้วนำสารสนเทศนั้นมาพิจารณาถึงผลดีและผลเสียเพื่อช่วยสนับสนุนการดัตสินใจ การดำเนินงานเพื่อให้ได้สารสนเทศเหล่านี้จึงเป็นงานเฉพาะที่จัดทำเป็นครั้งคราวเพื่อโครงงานหนึ่งๆ เท่านั้น
2.3 ส่วนประกอบของสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่างในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์และข้อมูล ทั้ง 5 ส่วนประกอบมีความเกี่ยวข้องกันเป็นระบบ
ถ้านักเรียนต้องการประมวลผลการเรียนของนักเรียนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ระบบการจัดการสารสนเทศนั้นเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรก คือ บุคลากร เช่น อาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สองคือ หากมีการบันทึกข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์ เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องกระทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สามคือ ฮาร์แวร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานได้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำ ประการที่สี่คือ ซอฟแวร์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงใหเป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ
2.3.1 บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการใหได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมด บุคลาการจึงต้องมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขายเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ
2.3.2 ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล และการทำรายงาน เป็นต้น
2.3.3 ฮาร์แวร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการหรือประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศ
2.3.4 ซอฟแวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟแวร์จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและประมวลผลเพื่อใหได้สารสนเทศที่ต้องการ
2.3.5 ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลเป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถาบันการศึกษามักจะต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใดหรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญกับส่วนประกอบทั้งห้านี้
การจัดการสารสนเทศโดยมีจำนวนข้อมูลไม่มาก อาจจะจัดการด้วยมือ โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้
2.4 ประเภทของข้อมูล
ตามี่ได้กล่าวมาแล้วว่า ข้อมูลคือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เราแบ่งประเภทของข้อมูลได้เป็นสองประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ
2.4.1 ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดนตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆ
2.4.2 ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง ตัวอย่างจากข้อมูลสถิติต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ใช้งานได้ หรือนำเอาไปประมวลผลต่อ
การประมวลผลข้อมูล
ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อนการประมวลผลข้อมูลเป็นกระบนการที่มีกระบวนการย่อยหลายกระบวนประกอบกันตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ การจัดลำดับ การรายงานผล รวมถึงการส่งข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูล
วิธีการประมวลผล
วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งได้แก่8;k,
-การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลเดินทางไปในสายเชื่อมต่อจากเครื่องปลายมทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลในทันทีทันใด
-การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโยการเก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนดให้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน
การแทนข้อมูล
จากที่กล่าวมา สารสนเทศคือข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล การประมวลผลส่วนใหญ่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อความรวดเร็วและแม่นยำ ดังนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลจะต้องอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจจึงจำเป็นต้องหาวิธีแทนตัวอักขระ
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสองลักษณะคือปิดและเปิด จึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0และ1แทนสถานะทั้งสอง และมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0และ1 ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)
แต่ละหลักของจำนวนในระบบตัวเลขฐานสองเราเรียกว่าบิต (bit) ใน 1บิตจะแทนข้อมูลได้2แบบคือ 0และ1และถ้าใช้ตัวเลขฐานสอง 4บิต จะแทนอักขระได้ทั้งหมด 2 หรือ 16แบบ ดังนี้
0000 0001 0010 0011
0100 0101 0110 0111
1000 1001 1010 1011
1100 1101 1110 1111
ตัวเลขฐานสอง 8 บิตหรือ1ไบต์สามารถใช้แทนรหัสต่างๆได้ถึง 2 หรือ 256แบบ เช่น 0100 0001 ใช้แทนอักขระ A
0100 0010 ใช้แทนอักขระB
แต่รหัสตัวอักขระภาษาอังกฤษทั้งหมดมีจำนวนไม่เกิน 128ตัว ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มเติม เพื่อใช้ในงาน สารสนเทศเป็นภาษาไทยได้ เช่น รหัส1010 0001 ใช้แทนตัวอักขระ ก
รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระที่เป็นมาตรฐานแบบหนึ่ง เรียกว่า รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange: ASCII)
จากการที่เลขฐานสอง 1 ไบต์ ใช้แทนรหัสได้ 1 ตัวอักขระ ดังนั้นถ้ามีข้อความที่ประกอบด้วยตัวอักขระหลายตัวก็ใช้รหัสเลขฐานสองหลายไบต์เรียงต่อกัน เช่น
กระดาษ ใช้ 1010 0001 1100 0011 1101 0000 1011 0100 1110 0101 1100 1001
รหัส 1010 0001 แทนตัวอักขระ ก
1100 0011 แทนตัวอักขระ ร
1101 0000 แทนตัวอักขระ ะ
1011 0100 แทนตัวอักขระ ด
1110 0101 แทนตัวอักขระ า
1100 1001 แทนตัวอักขระ ษ
แฟ้มข้อมูล
สมมติ ต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยชื่อและคะแนนสอบของนักเรียนในชั้น โดยในส่วนของคะแนนประกอบด้วยคะแนนสอบย่อยสองครั้งและสอบปลายภาคหนึ่งครั้ง ลักษณะของข้อมูลที่จัดเก็บสามารถสร้างเป็นแฟ้ม (file) ได้ โดยในแฟ้มจะมีรายการของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งเรียกว่าระเบียน (record) ภายในระเบียนจะมีกลุ่มข้อมูลย่อยเรียกว่าเขตข้อมูล (field)
สารสนเทศ
2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
นักเรียนคงคุ้นเคยกับคำว่า ข้อมุล มานานแล้ว ในโรง้รียนมีข้อมูลอยู่มากมาย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน ข้อมูลวิชาเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับครูผู้สอน ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ในการดำเนินงานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา
2.1.1 ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของสิ่งที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบตต่างๆ เช่น ตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเองข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือข้อความเป้นไปของสิ่งที่เราน่าสนใจ
โรงเรียนเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เช่น เมื่อนักเรียนสมัครเข้ารงเรียนจะมีการบันทึกประวัตินักเรียนไว้ ข้อมูลของนักเรียนที่โรงเรียนเก็บส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา นอกจากนี้ยังมีการบันทึกการมาเรียนของนักเรียน บันทึกผลการเรียน ข้อมู,เหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนแต่ละคนได้อย่างถ่องแท้ เพราะมีข้อมูลอย่างอื่นของนักเรียนที่ไม่ได้บันทึกไว้อีกมากมาย เช่น สีผม สีตา ตำหนิ ความสูง น้ำหนัก อาหารที่ชอบ วิชาที่ชอบ ความถนัด และงานอดิเรก
ในการดำเนินงานธุรกิจใดๆ จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้ใช้งาน เช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งเก็บข้อมูลการขายสินค้าตลอดปี เขาสามารถเก็ฐข้อมูลเหล่านี้มาศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณการขายต่อเดือน ประเภทและชนิดของสินค้าว่าสินค้าชนิดใดขายดี ชนิดใดขายไม่ดี แนวโน้มในกานขายในอนาคตจะเป็นอย่างไร สินค้าใดมียอดการขายที่ขึ้นอยู่กับเทศกาลหรือมีผลจากปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง
2.1.2 สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู๋ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งานได้ และจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น เมื่อต้องการสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการก็ควรจะเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาที่เพี่ยงพอแก่การตัดสินใจ
2.2 ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System: IS) คือ การดำเนินงานกับข้อมูล ตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรอาจใช้ฮาร์แวร์ และซอร์ฟแวร์ เป็ฯเครื่องมือที่ให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ
การจัดทำสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะใช้ช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการบันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์ม และเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มซึ่งเก็บในแต่ละเดือน ภาค หรือปี และมีการสรุปข้อมูลเป็ฯสารสนเทศเพื่อสร้างรายงาน
ตัวอย่างเช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการคัดเลือกนักเรียนเพื่อไปตอบคำถามเกี่ยวกับเทคโนโลลยีสารสนเทศ จึงทำการคัดเลือกนักเรียนนจากข้อมูลที่โรงเรียนจัดเก็บคือระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรายภาค และจากข้อมูลระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคเรียนที่ 4 มีนักเรียน 3 คน ได้ระดับคะแนน 4 อาจารย์จึงได้พิจารณาระดับคะแนนทั้ง 4 ภาคเรียนของนักเรียน 3 คน
สารสนเทศสามารถแบ่งประเภทตามสภาพความต้องการที่จักทำขึ้นได้ ดังนี้
1. สารสนเทศที่ทำเป็นประจำ เป็นสารสนเทศที่จักทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน รายงานเกี่ยวกับผู้ติดต่อหรือตรวจเยี่ยมโรงเรียนในแต่ละเดือน
2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศจะมีการให้ทำรายงานส่งเพื่อการต่างๆ เช่น งบดุลของบริษัทที่ต้องทำขึ้น เพื่อยื่นต่อทางราชการและใช้ในการเสียภาษี
3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ในการดำเนินงานต่างๆ บางครั้งจำเป็นต้องทำรายงานข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น รัฐบาลต้องการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์และจำเป็นต้องได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนว่าจะสร้างหรือไม่ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปรายงานขึ้นเป็นการเฉพาะ แล้วนำสารสนเทศนั้นมาพิจารณาถึงผลดีและผลเสียเพื่อช่วยสนับสนุนการดัตสินใจ การดำเนินงานเพื่อให้ได้สารสนเทศเหล่านี้จึงเป็นงานเฉพาะที่จัดทำเป็นครั้งคราวเพื่อโครงงานหนึ่งๆ เท่านั้น
2.3 ส่วนประกอบของสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่างในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์และข้อมูล ทั้ง 5 ส่วนประกอบมีความเกี่ยวข้องกันเป็นระบบ
ถ้านักเรียนต้องการประมวลผลการเรียนของนักเรียนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ระบบการจัดการสารสนเทศนั้นเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรก คือ บุคลากร เช่น อาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สองคือ หากมีการบันทึกข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์ เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องกระทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สามคือ ฮาร์แวร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานได้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำ ประการที่สี่คือ ซอฟแวร์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงใหเป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ
2.3.1 บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการใหได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมด บุคลาการจึงต้องมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขายเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ
2.3.2 ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล และการทำรายงาน เป็นต้น
2.3.3 ฮาร์แวร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการหรือประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศ
2.3.4 ซอฟแวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟแวร์จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและประมวลผลเพื่อใหได้สารสนเทศที่ต้องการ
2.3.5 ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลเป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถาบันการศึกษามักจะต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใดหรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญกับส่วนประกอบทั้งห้านี้
การจัดการสารสนเทศโดยมีจำนวนข้อมูลไม่มาก อาจจะจัดการด้วยมือ โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้
2.4 ประเภทของข้อมูล
ตามี่ได้กล่าวมาแล้วว่า ข้อมูลคือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เราแบ่งประเภทของข้อมูลได้เป็นสองประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ
2.4.1 ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดนตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆ
2.4.2 ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง ตัวอย่างจากข้อมูลสถิติต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ใช้งานได้ หรือนำเอาไปประมวลผลต่อ
การประมวลผลข้อมูล
ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อนการประมวลผลข้อมูลเป็นกระบนการที่มีกระบวนการย่อยหลายกระบวนประกอบกันตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ การจัดลำดับ การรายงานผล รวมถึงการส่งข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูล
วิธีการประมวลผล
วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งได้แก่8;k,
-การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลเดินทางไปในสายเชื่อมต่อจากเครื่องปลายมทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลในทันทีทันใด
-การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโยการเก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนดให้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน
การแทนข้อมูล
จากที่กล่าวมา สารสนเทศคือข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล การประมวลผลส่วนใหญ่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อความรวดเร็วและแม่นยำ ดังนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลจะต้องอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจจึงจำเป็นต้องหาวิธีแทนตัวอักขระ
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสองลักษณะคือปิดและเปิด จึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0และ1แทนสถานะทั้งสอง และมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0และ1 ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)
แต่ละหลักของจำนวนในระบบตัวเลขฐานสองเราเรียกว่าบิต (bit) ใน 1บิตจะแทนข้อมูลได้2แบบคือ 0และ1และถ้าใช้ตัวเลขฐานสอง 4บิต จะแทนอักขระได้ทั้งหมด 2 หรือ 16แบบ ดังนี้
0000 0001 0010 0011
0100 0101 0110 0111
1000 1001 1010 1011
1100 1101 1110 1111
ตัวเลขฐานสอง 8 บิตหรือ1ไบต์สามารถใช้แทนรหัสต่างๆได้ถึง 2 หรือ 256แบบ เช่น 0100 0001 ใช้แทนอักขระ A
0100 0010 ใช้แทนอักขระB
แต่รหัสตัวอักขระภาษาอังกฤษทั้งหมดมีจำนวนไม่เกิน 128ตัว ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มเติม เพื่อใช้ในงาน สารสนเทศเป็นภาษาไทยได้ เช่น รหัส1010 0001 ใช้แทนตัวอักขระ ก
รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระที่เป็นมาตรฐานแบบหนึ่ง เรียกว่า รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange: ASCII)
จากการที่เลขฐานสอง 1 ไบต์ ใช้แทนรหัสได้ 1 ตัวอักขระ ดังนั้นถ้ามีข้อความที่ประกอบด้วยตัวอักขระหลายตัวก็ใช้รหัสเลขฐานสองหลายไบต์เรียงต่อกัน เช่น
กระดาษ ใช้ 1010 0001 1100 0011 1101 0000 1011 0100 1110 0101 1100 1001
รหัส 1010 0001 แทนตัวอักขระ ก
1100 0011 แทนตัวอักขระ ร
1101 0000 แทนตัวอักขระ ะ
1011 0100 แทนตัวอักขระ ด
1110 0101 แทนตัวอักขระ า
1100 1001 แทนตัวอักขระ ษ
แฟ้มข้อมูล
สมมติ ต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยชื่อและคะแนนสอบของนักเรียนในชั้น โดยในส่วนของคะแนนประกอบด้วยคะแนนสอบย่อยสองครั้งและสอบปลายภาคหนึ่งครั้ง ลักษณะของข้อมูลที่จัดเก็บสามารถสร้างเป็นแฟ้ม (file) ได้ โดยในแฟ้มจะมีรายการของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งเรียกว่าระเบียน (record) ภายในระเบียนจะมีกลุ่มข้อมูลย่อยเรียกว่าเขตข้อมูล (field)
วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)