วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2



สารสนเทศ


2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ


นักเรียนคงคุ้นเคยกับคำว่า ข้อมุล มานานแล้ว ในโรง้รียนมีข้อมูลอยู่มากมาย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน ข้อมูลวิชาเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับครูผู้สอน ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ในการดำเนินงานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา


2.1.1 ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของสิ่งที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบตต่างๆ เช่น ตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเองข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือข้อความเป้นไปของสิ่งที่เราน่าสนใจ


โรงเรียนเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เช่น เมื่อนักเรียนสมัครเข้ารงเรียนจะมีการบันทึกประวัตินักเรียนไว้ ข้อมูลของนักเรียนที่โรงเรียนเก็บส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา นอกจากนี้ยังมีการบันทึกการมาเรียนของนักเรียน บันทึกผลการเรียน ข้อมู,เหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนแต่ละคนได้อย่างถ่องแท้ เพราะมีข้อมูลอย่างอื่นของนักเรียนที่ไม่ได้บันทึกไว้อีกมากมาย เช่น สีผม สีตา ตำหนิ ความสูง น้ำหนัก อาหารที่ชอบ วิชาที่ชอบ ความถนัด และงานอดิเรก


ในการดำเนินงานธุรกิจใดๆ จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้ใช้งาน เช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งเก็บข้อมูลการขายสินค้าตลอดปี เขาสามารถเก็ฐข้อมูลเหล่านี้มาศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณการขายต่อเดือน ประเภทและชนิดของสินค้าว่าสินค้าชนิดใดขายดี ชนิดใดขายไม่ดี แนวโน้มในกานขายในอนาคตจะเป็นอย่างไร สินค้าใดมียอดการขายที่ขึ้นอยู่กับเทศกาลหรือมีผลจากปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง


2.1.2 สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู๋ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งานได้ และจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น เมื่อต้องการสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการก็ควรจะเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาที่เพี่ยงพอแก่การตัดสินใจ


2.2 ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ (Information System: IS) คือ การดำเนินงานกับข้อมูล ตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรอาจใช้ฮาร์แวร์ และซอร์ฟแวร์ เป็ฯเครื่องมือที่ให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ


การจัดทำสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะใช้ช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการบันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์ม และเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มซึ่งเก็บในแต่ละเดือน ภาค หรือปี และมีการสรุปข้อมูลเป็ฯสารสนเทศเพื่อสร้างรายงาน


ตัวอย่างเช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการคัดเลือกนักเรียนเพื่อไปตอบคำถามเกี่ยวกับเทคโนโลลยีสารสนเทศ จึงทำการคัดเลือกนักเรียนนจากข้อมูลที่โรงเรียนจัดเก็บคือระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรายภาค และจากข้อมูลระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคเรียนที่ 4 มีนักเรียน 3 คน ได้ระดับคะแนน 4 อาจารย์จึงได้พิจารณาระดับคะแนนทั้ง 4 ภาคเรียนของนักเรียน 3 คน


สารสนเทศสามารถแบ่งประเภทตามสภาพความต้องการที่จักทำขึ้นได้ ดังนี้


1. สารสนเทศที่ทำเป็นประจำ เป็นสารสนเทศที่จักทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน รายงานเกี่ยวกับผู้ติดต่อหรือตรวจเยี่ยมโรงเรียนในแต่ละเดือน


2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศจะมีการให้ทำรายงานส่งเพื่อการต่างๆ เช่น งบดุลของบริษัทที่ต้องทำขึ้น เพื่อยื่นต่อทางราชการและใช้ในการเสียภาษี


3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ในการดำเนินงานต่างๆ บางครั้งจำเป็นต้องทำรายงานข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น รัฐบาลต้องการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์และจำเป็นต้องได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนว่าจะสร้างหรือไม่ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปรายงานขึ้นเป็นการเฉพาะ แล้วนำสารสนเทศนั้นมาพิจารณาถึงผลดีและผลเสียเพื่อช่วยสนับสนุนการดัตสินใจ การดำเนินงานเพื่อให้ได้สารสนเทศเหล่านี้จึงเป็นงานเฉพาะที่จัดทำเป็นครั้งคราวเพื่อโครงงานหนึ่งๆ เท่านั้น


2.3 ส่วนประกอบของสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่างในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์และข้อมูล ทั้ง 5 ส่วนประกอบมีความเกี่ยวข้องกันเป็นระบบ


ถ้านักเรียนต้องการประมวลผลการเรียนของนักเรียนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ระบบการจัดการสารสนเทศนั้นเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรก คือ บุคลากร เช่น อาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สองคือ หากมีการบันทึกข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์ เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องกระทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สามคือ ฮาร์แวร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานได้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำ ประการที่สี่คือ ซอฟแวร์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงใหเป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ


2.3.1 บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการใหได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมด บุคลาการจึงต้องมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขายเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ


2.3.2 ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล และการทำรายงาน เป็นต้น


2.3.3 ฮาร์แวร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการหรือประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศ


2.3.4 ซอฟแวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟแวร์จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและประมวลผลเพื่อใหได้สารสนเทศที่ต้องการ


2.3.5 ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลเป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถาบันการศึกษามักจะต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่างๆ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดสารสนเทศ


ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใดหรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญกับส่วนประกอบทั้งห้านี้


การจัดการสารสนเทศโดยมีจำนวนข้อมูลไม่มาก อาจจะจัดการด้วยมือ โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้


2.4 ประเภทของข้อมูล


ตามี่ได้กล่าวมาแล้วว่า ข้อมูลคือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เราแบ่งประเภทของข้อมูลได้เป็นสองประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ


2.4.1 ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดนตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆ


2.4.2 ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง ตัวอย่างจากข้อมูลสถิติต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ใช้งานได้ หรือนำเอาไปประมวลผลต่อ


การประมวลผลข้อมูล



ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อนการประมวลผลข้อมูลเป็นกระบนการที่มีกระบวนการย่อยหลายกระบวนประกอบกันตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ การจัดลำดับ การรายงานผล รวมถึงการส่งข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูล


วิธีการประมวลผล


วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งได้แก่8;k,


-การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลเดินทางไปในสายเชื่อมต่อจากเครื่องปลายมทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลในทันทีทันใด


-การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโยการเก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนดให้ เพื่อรายงานผล หรือสรุปหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน


การแทนข้อมูล


จากที่กล่าวมา สารสนเทศคือข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล การประมวลผลส่วนใหญ่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อความรวดเร็วและแม่นยำ ดังนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลจะต้องอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจจึงจำเป็นต้องหาวิธีแทนตัวอักขระ


การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสองลักษณะคือปิดและเปิด จึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0และ1แทนสถานะทั้งสอง และมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 0และ1 ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)


แต่ละหลักของจำนวนในระบบตัวเลขฐานสองเราเรียกว่าบิต (bit) ใน 1บิตจะแทนข้อมูลได้2แบบคือ 0และ1และถ้าใช้ตัวเลขฐานสอง 4บิต จะแทนอักขระได้ทั้งหมด 2 หรือ 16แบบ ดังนี้


0000 0001 0010 0011


0100 0101 0110 0111


1000 1001 1010 1011


1100 1101 1110 1111


ตัวเลขฐานสอง 8 บิตหรือ1ไบต์สามารถใช้แทนรหัสต่างๆได้ถึง 2 หรือ 256แบบ เช่น 0100 0001 ใช้แทนอักขระ A


0100 0010 ใช้แทนอักขระB


แต่รหัสตัวอักขระภาษาอังกฤษทั้งหมดมีจำนวนไม่เกิน 128ตัว ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มเติม เพื่อใช้ในงาน สารสนเทศเป็นภาษาไทยได้ เช่น รหัส1010 0001 ใช้แทนตัวอักขระ ก


รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระที่เป็นมาตรฐานแบบหนึ่ง เรียกว่า รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange: ASCII)


จากการที่เลขฐานสอง 1 ไบต์ ใช้แทนรหัสได้ 1 ตัวอักขระ ดังนั้นถ้ามีข้อความที่ประกอบด้วยตัวอักขระหลายตัวก็ใช้รหัสเลขฐานสองหลายไบต์เรียงต่อกัน เช่น


กระดาษ ใช้ 1010 0001 1100 0011 1101 0000 1011 0100 1110 0101 1100 1001


รหัส 1010 0001 แทนตัวอักขระ ก


1100 0011 แทนตัวอักขระ ร


1101 0000 แทนตัวอักขระ ะ


1011 0100 แทนตัวอักขระ ด


1110 0101 แทนตัวอักขระ า


1100 1001 แทนตัวอักขระ ษ


แฟ้มข้อมูล


สมมติ ต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยชื่อและคะแนนสอบของนักเรียนในชั้น โดยในส่วนของคะแนนประกอบด้วยคะแนนสอบย่อยสองครั้งและสอบปลายภาคหนึ่งครั้ง ลักษณะของข้อมูลที่จัดเก็บสามารถสร้างเป็นแฟ้ม (file) ได้ โดยในแฟ้มจะมีรายการของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งเรียกว่าระเบียน (record) ภายในระเบียนจะมีกลุ่มข้อมูลย่อยเรียกว่าเขตข้อมูล (field)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น